เกษตรผสมผสาน (Integrated
Farming System)
การป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานเป็นวิธีหนึ่งที่ลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในระบบการผลิตให้มีการใช้น้อยหรือใช้ตามความจำเป็น
หรือเมื่อมีการทำลายของศัตรูพืชสูงเกินระดับเศรษฐกิจ รวมถึงการใช้สารธรรมชาติหรือศัตรูธรรมชาติมาทดแทนการใช้สารเคมี
เพื่อไห้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพ ปราศจาการปนเปื้อนของสารเคมีและมีสุขอนามัยตรงตามความต้องการของตลาดและผู้บริโภค
การผลิตแบบไร่นาสวนผสมหรือการทำเกษตรแบบผสมผสาน
เป็นวิธีทำการเกษตรที่มีการเพาะปลุกหรือเลี้ยงสัตว์หลายๆๆชนิดอยู่พื้นที่เดียวกัน มีการนำเศษวัสดุเหลือใช้จากการผลิตหนึ่ง เพื่อใช้ประโยชน์อย่างครบวงจร โดยทั่วไปการผลิตแบบนี้มักเป็นรูปแบบการเกษตรประเภททำเพื่อพอกินพอใช้ ทำโดยสมาชิกในครัวเรือน พอมีเหลือจึงขาย ซึ่งการเกษตรแบบนี้จัดว่าเป็นการเกษตรแบบดั้งเดิม ที่เกษตรกรสามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างพอเพียง แต่อาจไม่เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน เนื่องจากเกษตรกรจำเป็นต้องมีรายได้หลักเพื่อใช้จ่ายภายในครอบครัว รวมทั้งเพื่อการศึกษาของบุตรหลาน ค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาพยาบาลเมื่อยามเจ็บป่วย หลักหารสำคัญของการผลิตแบบนี้คือ การรักษาสมดุลของระบบนิเวศ ลดการใช้สารเคมีการเกษตรหรือใช้แนวทางเลือกอื่นในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ซึ่งการเกษตรแบบนี้ถ้าได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมจะเกิดประโยชน์แก่เกษตรกรทำให้มีงานทำตลอดปี มีรายได้พอเลี้ยงครอบครัวและลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานจากส่วนภูมิภาคเข้าสู่ส่วนกลางได้
เป็นวิธีทำการเกษตรที่มีการเพาะปลุกหรือเลี้ยงสัตว์หลายๆๆชนิดอยู่พื้นที่เดียวกัน มีการนำเศษวัสดุเหลือใช้จากการผลิตหนึ่ง เพื่อใช้ประโยชน์อย่างครบวงจร โดยทั่วไปการผลิตแบบนี้มักเป็นรูปแบบการเกษตรประเภททำเพื่อพอกินพอใช้ ทำโดยสมาชิกในครัวเรือน พอมีเหลือจึงขาย ซึ่งการเกษตรแบบนี้จัดว่าเป็นการเกษตรแบบดั้งเดิม ที่เกษตรกรสามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างพอเพียง แต่อาจไม่เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน เนื่องจากเกษตรกรจำเป็นต้องมีรายได้หลักเพื่อใช้จ่ายภายในครอบครัว รวมทั้งเพื่อการศึกษาของบุตรหลาน ค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาพยาบาลเมื่อยามเจ็บป่วย หลักหารสำคัญของการผลิตแบบนี้คือ การรักษาสมดุลของระบบนิเวศ ลดการใช้สารเคมีการเกษตรหรือใช้แนวทางเลือกอื่นในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ซึ่งการเกษตรแบบนี้ถ้าได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมจะเกิดประโยชน์แก่เกษตรกรทำให้มีงานทำตลอดปี มีรายได้พอเลี้ยงครอบครัวและลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานจากส่วนภูมิภาคเข้าสู่ส่วนกลางได้
หลักการและเงื่อนไขของเกษตรผสมผสาน
มีหลักการที่สำคัญ 2 ประการคือ
1.มีกิจกรรมการเกษตรตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป และกิจกรรมการเกษตรทั้งสองชนิดต้องทำในเวลาและสถานที่เดียวกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดมากกว่าให้เกิดกำไรสูงสุด
2.เกิดการเกื้อกูลกันอย่างต่อเนื่องระหว่างกิจกรรมเกื้อกูลกันระหว่างพืชกับพืช พืชกับปลา สัตว์กับปลา พืชกับสัตว์ สัตว์กับสัตว์ ซึ่งลักษณะการเกื้อกูลกันของระบบเกษตรผสมผสาน จึงทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง หรือที่เรียกว่า เป็นการประหยัดทางขอบข่าย (Economy of Scope) และลดการพึ่งพิงปัจจัยจากภายนอกในที่สุด
ในด้านเทคนิคและการจัดการไร่นานั้น เกษตรผสมผสานได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการสร้างความหลากหลายของพืช สัตว์ และทรัพยากรชีวภาพ การใช้ประโยชน์เกื้อกูลกันระหว่างกิจกรรม การใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก การใช้วัสดุหรือพืชคลุมดิน การปลูกพืชหลายระดับ มีแหล่งน้ำในไร่นา สามารถปลูกพืชคลุมดิน ไถพรวนดิน หรือปุ๋ยเคมีก็ได้
การพัฒนารูปแบบการเกษตรผสมผสานในประเทศไทย
ในประเทศไทยมีการทำการเกษตรแบบผสมผสานมาช้านานแล้ว จากรูปแบบการผลิตที่ง่ายๆ เช่น การเลี้ยงปลาในนาข้าว และหลังจากที่หน่วยงานของรัฐเข้ามามีบทบาทในด้านการส่งเสริมและวิจัยมากขึ้น รูปแบบการผลิตจึงมีความซับซ้อนมากขึ้น คือ มีการผสมผสานระหว่างพืช สัตว์และปลา เป็นต้น โดยทั่วไปรูปแบบของการผลิตซึ่งประกอบด้วยชนิดและขนาดของกิจกรรมการผลิตในไร่นาจะแตกต่างกันไป
ซึ่งปัจจัยที่กำหนดรูปแบบการผลิตมี 3 ประการคือ
1.สภาพแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่ เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ระดับความสูงต่ำของพื้นที่ แหล่งน้ำ สภาพลมฟ้าอากาศ และอื่นๆ
2.สภาพแวดล้อมทางชีวภาพของพื้นที่ ได้แก่ ชนิดของพืช สัตว์และปลาที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม
มีหลักการที่สำคัญ 2 ประการคือ
1.มีกิจกรรมการเกษตรตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป และกิจกรรมการเกษตรทั้งสองชนิดต้องทำในเวลาและสถานที่เดียวกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดมากกว่าให้เกิดกำไรสูงสุด
2.เกิดการเกื้อกูลกันอย่างต่อเนื่องระหว่างกิจกรรมเกื้อกูลกันระหว่างพืชกับพืช พืชกับปลา สัตว์กับปลา พืชกับสัตว์ สัตว์กับสัตว์ ซึ่งลักษณะการเกื้อกูลกันของระบบเกษตรผสมผสาน จึงทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง หรือที่เรียกว่า เป็นการประหยัดทางขอบข่าย (Economy of Scope) และลดการพึ่งพิงปัจจัยจากภายนอกในที่สุด
ในด้านเทคนิคและการจัดการไร่นานั้น เกษตรผสมผสานได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการสร้างความหลากหลายของพืช สัตว์ และทรัพยากรชีวภาพ การใช้ประโยชน์เกื้อกูลกันระหว่างกิจกรรม การใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก การใช้วัสดุหรือพืชคลุมดิน การปลูกพืชหลายระดับ มีแหล่งน้ำในไร่นา สามารถปลูกพืชคลุมดิน ไถพรวนดิน หรือปุ๋ยเคมีก็ได้
การพัฒนารูปแบบการเกษตรผสมผสานในประเทศไทย
ในประเทศไทยมีการทำการเกษตรแบบผสมผสานมาช้านานแล้ว จากรูปแบบการผลิตที่ง่ายๆ เช่น การเลี้ยงปลาในนาข้าว และหลังจากที่หน่วยงานของรัฐเข้ามามีบทบาทในด้านการส่งเสริมและวิจัยมากขึ้น รูปแบบการผลิตจึงมีความซับซ้อนมากขึ้น คือ มีการผสมผสานระหว่างพืช สัตว์และปลา เป็นต้น โดยทั่วไปรูปแบบของการผลิตซึ่งประกอบด้วยชนิดและขนาดของกิจกรรมการผลิตในไร่นาจะแตกต่างกันไป
ซึ่งปัจจัยที่กำหนดรูปแบบการผลิตมี 3 ประการคือ
1.สภาพแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่ เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ระดับความสูงต่ำของพื้นที่ แหล่งน้ำ สภาพลมฟ้าอากาศ และอื่นๆ
2.สภาพแวดล้อมทางชีวภาพของพื้นที่ ได้แก่ ชนิดของพืช สัตว์และปลาที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม
3.
สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่
ขนาดของพื้นที่ถือครอง จำนวนแรงงานในครัวเรือน
เงินออม ตลาด พฤติกรรมการบริโภค เป็นต้น
รูปแบบของเกษตรผสมผสาน
สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบคือ
1. การผสมผสานโดยยึดพืชเป็นหลัก รายได้จากพืชจะเป็นรายได้หลักของครัวเรือน ส่วนรายได้จากกิจกรรมอื่นๆ เช่น ปลา และเลี้ยงสัตว์ จะเป็นรายได้รอง
สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบคือ
1. การผสมผสานโดยยึดพืชเป็นหลัก รายได้จากพืชจะเป็นรายได้หลักของครัวเรือน ส่วนรายได้จากกิจกรรมอื่นๆ เช่น ปลา และเลี้ยงสัตว์ จะเป็นรายได้รอง
2.
รายได้ผสมผสานโดยยึดสัตว์เป็นหลัก จะได้รายได้หลักจากสัตว์เลี้ยง
ส่วนรายได้จากพืชและปลาจะเป็นรายได้รอง
3.
การผสมผสานโดยยึดปลาเป็นหลัก รายได้หลักมากจากการเลี้ยงปลา
ส่วนรายได้จากพืชและสัตว์จะเป็นรายได้รอง
จุดเด่นของการเกษตรผสมผสาน
1. การลดความเสี่ยง และความไม่แน่นอนของรายได้
2. รายได้สม่ำเสมอ
3. การประหยัดทางขอบข่าย ค่าใช้จ่ายในไร่นาลดลง มีรายได้สุทธิเพิ่มมากขึ้น
4. ลดการพึ่งพิงจากภายนอก
5. ลดการว่างงานตามฤดูกาล มีงานทำทั้งปี ทำให้ลดการอพยพแรงงาน
1. การลดความเสี่ยง และความไม่แน่นอนของรายได้
2. รายได้สม่ำเสมอ
3. การประหยัดทางขอบข่าย ค่าใช้จ่ายในไร่นาลดลง มีรายได้สุทธิเพิ่มมากขึ้น
4. ลดการพึ่งพิงจากภายนอก
5. ลดการว่างงานตามฤดูกาล มีงานทำทั้งปี ทำให้ลดการอพยพแรงงาน
ที่มา:
http://agrifriends.weebly.com/364835853625360536193612362636173612362636343609.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น